บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด
บัตรประจำตัวประชาชน คือเอกสารที่ทางราชการออกให้กับบุคคลผู้มีสัญชาติไทย และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฏหมายกำหนด (พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526) เพื่อใช้ยืนยันตัวบุคคลกับเจ้าหนาที่ของรัฐหรือบุคคลที่จะมีส่วนได้เสียในการทำนิติกรรมสัญญาต่างๆ ประเทศไทยของเราเริ่มมีการนำบัตรประจำตัวประชาชนมาใช้ครั้งแรกตั้งแต่ปี 2486 โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย บัตรประชาชนมีการพัฒนารูปแบบมาตามยุคสมัยโดยลำดับ กระทั่งในปัจจุบันประเทศของเราได้มีนำเอาเทคโนโลยีสมาร์ทการ์ดมาใช้กับบัตรประชาชน เช่นเดียวกับในอีกหลายๆ ประเทศ ด้วยเหตุผลในด้านการป้องกันการถูกปลอมแปลง และความง่ายในกระบวนตรวจสอบความจริงแท้ของบัตร
สมาร์ทการ์ดคืออะไร
บัตรสมาร์ทการ์ดคือบัตรพลาสติกที่มีขนาดมาตรฐานตามข้อกำหนด ISO-7810 (ขนาดของบัตรเครดิตและเอทีเอ็ม) และมีชิพอีเล็กทรอนิกส์ฝังอยู่บนตัวบัตร โดยชิพนี้จะทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและจัดการเรื่องกลไกด้านความปลอดภัยของข้อมูล คุณลักษณะทางกายภาพและทางไฟฟ้าของชิพที่เป็นไปตามข้อกำหนด ISO-7816 บัตรประชาชนของเราใช้สมาร์ทการ์ดแบบชนิดมีหน้าสัมผัส (Contact Smartcard) ชิพเป็นแบบมีหน่วยประมวลผลขนาด 8 บิท มีหน่วยความจำชนิด EEPROM ขนาด 32-64KB ทำงานบนระบบปฏิบัตรการ Java Card OS มีแอพพลิเคชั่นที่ติดตั้งอยู่บนบัตร (Java Applet) อยู่ประมาณ 6 แอพพลิเคชั่น แต่ละแอพพลิเคชั่นจะเป็นของแต่ละหน่วยงานรัฐคือกรมการปกครอง, สป.สช., สำนักงานประกันสังคม, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, องค์การทหารผ่านศึกและกระทรวงกลาโหม
thaiid
นับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดมีการปรับเปลี่ยนมาแล้ว 3 เวอร์ชั่น มีการปรับเปลี่ยนผู้ผลิตชิพมาแล้วหลายราย ชิพรุ่นใหม่จะมีความเร็วในการอ่านข้อมูลกว่ารุ่นก่อนบ้างเนื่องจากประสิทธิภาพสูงกว่า โดยอนาคตชิพคงมีราคาลดลงไปอีก แต่คุณภาพจะสุงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในด้านความจุข้อมูลและความเร็วในการประมวลผล
บัตรออกเมื่อปี 2547 จำนวน 1 หมื่นใบให้กับบุคคลที่ไปร่วมในงานแถลงข่าวเปิดโครงการ
บัตรออกเมื่อปี 2549 จำนวน 10 ล้านใบให้กับประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และเขตกรุงเทพปริมณฑล
บัตรออกเมื่อปี 2551 จำนวนมากว่า 30 ล้านใบ มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบหน้าบัตรและโครงสร้างข้อมูลภายในชิพ
ข้อมูลที่เก็บอยู่ในชิพสมาร์ทการ์ด
เนื่องจากสมาร์ทการ์ดสามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก เมื่อเทียบกับบัตรชนิดอื่นๆ โดยในบัตรประชาชนของเราจะมีข้อมูลของหน่วยงานถึง 6 หน่วยงานด้วยกัน แต่โดยส่วนใหญ่ขอ้มูลเหล่านั้นจะถูกใช้กันภายในหน่วยราชการเท่านั้นเพราะเป็นข้อมูลชนิดปกปิด แต่ก็มีข้อมูลรายละเอียดของผู้ถือบัตรซึ่งพิมพ์อยู่บนหน้าบัตร ซึ่งจัดเก็บอยู่ในแอพเพลตของกรมการปกครองส่วนที่เป็น public sector ซึ่งเป็นส่วนที่เปิดไว้ให้สามารถอ่านออกไปใช้ได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการ Authentication ซึ่งมีรายละเอียดดังตารางข้างล่าง โดยในปัจจุบันมีภาคเอกชนได้เริ่มเข้ามาใช้ประโยชน์จากข้อมูลจากบัตรประชาชนมากขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ เครื่องอ่านมีราคาไม่แพง
ลำดับ รายละเอียดข้อมูล ชนิด ขนาด
1 เวอร์ชั่น N 4
2 เลขประจำตัวประชาชน N 13
3 ชื่อภาษาไทย C 100
4 ชื่อภาษาอังกฤษ C 100
5 วันเดือนปีเกิด N 8
6 เพศ N 1
7 ที่อยู่ C 160
8 สถานที่ออกบัตร C 100
9 วันที่ออกบัตร N 8
10 วันหมดอายุ N 8
11 รูปถ่าย B 5120
อ้างอิง :
http://www.idpassglobal.com/knowledge/national-idhttps://freeshell.de/~jirawat/blog/?p=69https://github.com/chakphanu/ThaiNationalIDCard