ข่าว: ข่าวประกาศ

  • 25 พฤศจิกายน 2024, 12:42:42

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

ผู้เขียน หัวข้อ: การเทียบเวลาด้วย Network Time Protocol ให้สอดคล้องกับ พรบ. คอมฯ  (อ่าน 23863 ครั้ง)

admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3820
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
Reff :: http://thaicert.nectec.or.th/paper/basic/NTPandLAW.php

ชื่อเรื่อง : การเทียบเวลาด้วย Network Time Protocol ให้สอดคล้องกับ พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
เรียบเรียงโดย : อสมาภรณ์ ฉัตรัตติกรณ์ และชวลิต ทินกรสูติบุตร
เผยแพร่เมื่อ : 27 กุมภาพันธ์ 2551

    เนื่องด้วยการประกาศใช้ พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 ส่งผลให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ รวมทั้งผู้ดูแลระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องปฏิบัติตนให้สอดคล้อง กับพรบ. ดังกล่าว เนื้อหาส่วนหนึ่งของพรบ. ได้ระบุถึงความหมายของข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ดังนี้

    “ข้อมูล จราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น

    นอกจากนี้ในพรบ. ยังระบุถึงความสำคัญของข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นหลักฐานในการ ดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และในเนื้อหาของมาตราที่ 26 ซึ่งเป็นส่วนที่บังคับให้ผู้ให้บริการต้องปฏิบัติตามในการเก็บรักษาข้อมูล จราจรทางคอมพิวเตอร์ โดยมีเนื้อหาดังนี้

    มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
    นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการ ผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่ง ปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย และเฉพาะคราวก็ได้
    ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่ จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
    ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
    ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

    หลังจากการประกาศใช้พรบ. ข้างต้น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ประกาศใช้ หลักเกณฑ์ในการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. 2550 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ให้บริการประเภทต่างๆ ดำเนินการเก็บรักษาข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับพรบ. กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยเนื้อหาในประกาศตอนหนึ่งระบุไว้ว่า

    ข้อ ๙ เพื่อให้ข้อมูลจราจรมีความถูกต้องและนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงผู้ให้บริการ ต้องตั้งนาฬิกา ของอุปกรณ์บริการทุกชนิดให้ตรงกับเวลาอ้างอิงสากล (Stratum 0) โดยผิดพลาดไม่เกิน ๑๐ มิลลิวินาที

    จากประกาศข้างต้นนี้ทำให้ผู้ให้บริการจำเป็นต้องเทียบเวลา จากเวลาอ้างอิงสากล (Stratum 0) โดยผิดพลาดไม่เกิน 10 มิลลิวินาที ในบทความนี้จะกล่าวถึงความรู้พื้นฐานของการเทียบเวลาการเชื่อมต่อของอิน เทอร์เน็ตที่เรียกว่า Network Time Protocol (NTP) และกล่าวถึงการประยุกต์ใช้ NTP ในอุปกรณ์บริการ และเครื่องลูกข่ายของระบบเพื่อให้ระบบสารสนเทศขององค์กรมีความสอดคล้องกับพร บ. และประกาศดังกล่าว

    Network Time Protocol (NTP)

    เป็นที่เข้าใจกันดีแล้วว่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เครือข่าย ต่างๆ ในระบบสารสนเทศนั้นมีความสามารถของการรักษาความเที่ยงตรง และแม่นยำของเวลาได้แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น วัสดุที่ให้สร้างวงจรเวลาของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์, อุณหภูมิ, ความชื้น, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ ความสม่ำเสมอของพลังงานที่จ่ายให้กับวงจรเวลา เป็นต้น ส่งผลให้อุปกรณ์ต่างกันอาจจะให้ค่าเวลาที่แตกต่างกัน

    หากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เครือข่ายในระบบสารสนเทศมีค่าเวลาที่แตกต่างกันแล้วนั้นจะส่งผล ให้เกิดปัญหากับผู้ใช้งาน รวมทั้งผู้ดูแลระบบในการปฏิบัติงานต่างๆ เช่น

    - ความคาดเคลื่อนของเวลาในการการแจ้งปัญหาของระบบสารสนเทศ ระหว่างผู้ใช้งาน และผู้ดูแลระบบ
    - ความสับสนในการตรวจสอบ และวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ เช่น เหตุการณ์การบุกรุก เหตุการณ์ของปัญหาด้านเครือข่าย หรือระบบคอมพิวเตอร์
    - ผู้พัฒนามีความสับสนในเวอร์ชันของโค้ดระหว่างการพัฒนา
    - มีการใช้งานไฟล์ข้อมูล หรือฐานข้อมูล ที่ซ้อนทับกัน

    จากตัวอย่างปัญหาข้างต้นจะเห็นว่าผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้งานระบบสารสนเทศมีความจำเป็นต้องทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายของระบบสารสนเทศในองค์กรมีค่าเวลาเที่ยงตรง และแม่นยำเหมือนกัน

    ความรู้พื้นฐานของ NTP

    Network Time Protocol (NTP) เป็นโพรโตคอลในระดับ Application Layer ของระบบเครือข่ายแบบ TCP/IP ที่ทำหน้าที่ในการเทียบเวลาระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งอ้างอิงจาก RFC หมายเลข RFC 778, RFC 891, RFC 956, RFC 958, และ RFC 1305 การทำงานของโพรโตคอลชนิดนี้จะต้องอาศัยเครื่องให้บริการที่เปิดพอร์ตหมายเลข 123 ชนิด UDP ในการรอรับข้อมูลร้องขอการเทียบเวลาจากเครื่องลูกข่าย
    ลักษณะการแจกจ่ายเวลาของ NTP นั้นจะอยู่ในรูปแบบลำดับชั้น ที่เรียกว่า “Clock Strata” โดยแบ่งลำดับชั้นของการเทียบเวลาดังนี้

    Stratum 0
    เป็นอุปกรณ์ของแหล่งกำเนิดเวลา เช่น Atomic clocks, GPS เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิดมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน เช่น การประยุกต์ใช้ GPS จะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า Atomic clock มาก แต่จะมีเสถียรภาพที่น้อยกว่า หากสภาพอากาศไม่เหมาะสม GPS จะไม่สามารถรับสัญญาดาวเทียมได้ เป็นต้น

    Stratum 1
    เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เชื่อมต่อกับ stratum 0 ได้รับค่าเวลามาจาก stratum 0 โดยตรงผ่านการเชื่อมต่อในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น RS-232 เป็นต้น

    Stratum 2
    เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอการเทียบเวลาจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย stratum 1 ผ่านระบบเครือข่าย TCP/IP ด้วยการใช้งาน NTP เครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับนี้อาจจะร้องขอการเทียบเวลาจาก stratum 1 ได้มากกว่า 1 แหล่งเพื่อรองรับการทำงานแบบทดแทนกันเมื่อไม่สามารถเข้าถึง stratum 1 ตัวใดตัวหนึ่งก็จะสามารถร้องขอการเทียบเวลาจาก stratum 1 ตัวอื่นได้ต่อไป
    นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ใน stratum 2 สามารถเทียบเคียงเวลาระหว่างกันแบบ peer-to-peer เพื่อรักษาเวลาให้เทียบเท่ากันในระดับเดียวกัน

    Stratum 3
    เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร้องขอการเทียบเวลาจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย stratum 2 ผ่านระบบเครือข่าย TCP/IP ด้วยการใช้งาน NTP เครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับนี้จะสามารถอ้างอิง stratum 2 ได้มากกว่า 1 แหล่ง และสามารถทำงานในรูปแบบ peer-to-peer ได้เช่นเดียวกัน NTP นั้นสามารถรองรับระดับของการเทียบเวลาได้ถึง 16 ระดับ

   

    รูปลำดับชั้นของการเทียบเวลาใน NTP

    การประยุกต์ใช้ NTP
    รูปแบบการทำงานของ NTP จะอยู่ในลักษณะของ Server-Client ซึ่ง Server จะทำหน้าที่แจกจ่ายเวลาให้กับ Client ที่อยู่ในระดับ stratum ที่ต่ำกว่า แนวทางการเทียบเวลาให้สอดคล้องกับพรบ. นั่นคือการกำหนดให้ Client ภายในเครือข่ายขององค์กรขอเทียบเวลาจากเครื่องให้บริการ NTP ในระดับ stratum 1 ซึ่งในปัจจุบันมีเครื่องให้บริการขอเทียบเวลาในรูปแบบ NTP อยู่มากมาย เช่น NTP pool Project ( http://www.pool.ntp.org/) , Stratum One Time Server Project (http://support.ntp.org/bin/view/Servers/StratumOneTimeServers) และ ThaiCERT ยังมีบริการ stratum 1 ที่ชื่อ clock.thaicert.org เป็นต้น คู่มือเบื้องต้นของการปรับแต่งอุปกรณ์เครือข่าย หรืออุปกรณ์สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก คู่มือการใช้บริการ Time Server

<a href="http://www.hadyaiinternet.com/images/inetcafe.swf" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">http://www.hadyaiinternet.com/images/inetcafe.swf</a>

admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3820
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
Reff :: https://help.ubuntu.com/7.10/server/C/NTP.html

คู่มือการใช้บริการ NTP บน Ubuntu

Time Synchronisation with NTP

This page describes methods for keeping your computer's time accurate. This is useful for servers, but is not necessary (or desirable) for desktop machines.

NTP is a TCP/IP protocol for synchronising time over a network. Basically a client requests the current time from a server, and uses it to set its own clock.

Behind this simple description, there is a lot of complexity - there are tiers of NTP servers, with the tier one NTP servers connected to atomic clocks (often via GPS), and tier two and three servers spreading the load of actually handling requests across the internet. Also the client software is a lot more complex than you might think - it has to factor out communication delays, and adjust the time in a way that does not upset all the other processes that run on the server. But luckily all that complexity is hidden from you!

Ubuntu has two ways of automatically setting your time: ntpdate and ntpd.
ntpdate

Ubuntu comes with ntpdate as standard, and will run it once at boot time to set up your time according to Ubuntu's NTP server. However, a server's clock is likely to drift considerably between reboots, so it makes sense to correct the time ocassionally. The easiest way to do this is to get cron to run ntpdate every day. With your favourite editor, as root, create a file /etc/cron.daily/ntpdate containing:

ntpdate ntp.ubuntu.com

The file /etc/cron.daily/ntpdate must also be executable.

sudo chmod 755 /etc/cron.daily/ntpdate

ntpd

ntpdate is a bit of a blunt instrument - it can only adjust the time once a day, in one big correction. The ntp daemon ntpd is far more subtle. It calculates the drift of your system clock and continuously adjusts it, so there are no large corrections that could lead to inconsistent logs for instance. The cost is a little processing power and memory, but for a modern server this is negligible.

To set up ntpd:

sudo apt-get install ntp-simple

Changing Time Servers

In both cases above, your system will use Ubuntu's NTP server at ntp.ubuntu.com by default. This is OK, but you might want to use several servers to increase accuracy and resilience, and you may want to use time servers that are geographically closer to you. to do this for ntpdate, change the contents of /etc/cron.daily/ntpdate to:

ntpdate ntp.ubuntu.com pool.ntp.org

And for ntpd edit /etc/ntp.conf to include additional server lines:

server ntp.ubuntu.com
server pool.ntp.org

You may notice pool.ntp.org in the examples above. This is a really good idea which uses round-robin DNS to return an NTP server from a pool, spreading the load between several different servers. Even better, they have pools for different regions - for instance, if you are in New Zealand, so you could use nz.pool.ntp.org instead of pool.ntp.org . Look at http://www.pool.ntp.org/ for more details.

You can also Google for NTP servers in your region, and add these to your configuration. To test that a server works, just type sudo ntpdate ntp.server.name and see what happens.
<a href="http://www.hadyaiinternet.com/images/inetcafe.swf" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">http://www.hadyaiinternet.com/images/inetcafe.swf</a>